Friday, April 13, 2012

ขมิ้นอ้อย : Zedoary or Curuma

ขมิ้นอ้อยเป็นพืชจำพวกเดียวกับว่าน ขิง ข่า และขมิ้นชัน ลักษณะต้นนั้นก็จะคล้ายๆกับขมิ้นชัน แต่ขนาดของเหง้าจะใหญ่กว่า  เนื้อในเหง้่ามีสีเหลือง ดอกออกเป็นช่อ ดอกจะมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีเหลือง ดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นบน

ความแตกต่างระหว่าง ขมิ้นชัน กับ ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย  Curcuma


เหง้าขมิ้นอ้อย มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลสด ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น บรรเทาอาการฟกช้ำบวม รักษาอาการท้องร่วง หรืออาการท้องเดินที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค รักษาโรคผิวหนัง ช่วยลดไข้

วิธีดูแลรักษาสุขภาพ

เหง้าสดหรือแห้ง
หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ เคี่ยวให้่่งวด ใช้น้ำกิน วันละครั้ง ช่วยบรรเทาอาหารท้องเดินที่ไม่ใช่บิดหรือ อหิวาตกโรคได้

เหง้าสด นำมาตำละเอียด แล้วใช้ทั้งกากและน้ำขมิ้น พอกบริเวณผิวหนังที่บวม หรือฟกช้ำ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

เหง้าสด
น้ำมาต้มเข้าด้วยกันกับอบเชยเทศ และพริกไทย รินเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง คนให้เข้ากัน กินวันละ 3 ครั้ง จะช่วยรักษาอาการหวัดได้

เหง้าสด
หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบุบพอแตก นำไปหุงกับน้ำมันมะพร้าว เคี่ยวเข้าด้วยกัน ใช้น้ำมันทาแผล หรือใช้นวดจับเส้น จะช่วยบรรเทาอาการปวดและคล้ายกล้ามเนื้อได้

เหง้าสด
หั่นเป็นแว่นๆ บุบพอแตก นำไปแช่กับเหล้าโรง ใช้น้ำยาทาให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง จำพวกผดผื่นคัน กลากเกลื้อน จะช่วยบรรเทาได้

ข้อเสนอแนะ

เนื่องจากขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณคล้ายๆ กับขมิ้นชัน อาจมีการทดแทนกันได้้ ในกรณีที่ไม่มีขมิ้นชัน วธิการเก็บขมิ้นไว้ใช้สำหรับบำรุงผวิพรรณ ให้หั่นขมิ้นสดเป็นแว่นบางๆ แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง จากนั้นก็ใส่เครื่องบดให้ละเอียดเป็นผง ใส่ตลับเก็บไว้ใช้ เมื่อจะใช้ให้นำผงขมิ้นผสมกับน้ำผึ้งหรือนมสด ขัดหน้า หรือขัดผิว จะช่วยทำให้ผิวผ่องใส ไร้ฝ้าและกระ  เราอาจจะเคยเห็นคนพม่า ที่เขาปะแป้งที่หน้าจะเหลือง นั่นคือเขาใช้ขมิ้นนั่นเอง









No comments:

Post a Comment